วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 6 บุริมสิทธิ (ต่อ)


1.    บุริมสิทธิพิเศษ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ บุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์ และบุริมสิทธิพิเศษเหนือ อสังหาริมทรัพย์
2.    เมื่อมีเจ้าหนี้หลายรายในมูลหนี้ต่างๆกัน มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์ทั่วไป และเหนือ    สังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์อันเดียวกันจึงต้องจัดลำดับบุริมสิทธิซึ่งจะให้ผลก่อนหลังเรียงตามลำดับ

1.1  บุริมสิทธิพิเศษ
1.    บุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์มาตรา 259 บัญญัติไว้ 7 ประการ คือ
(1) เช่าอสังหาริมทรัพย์
(2) พักอาศัยในโรงแรม
(3) รับขนคนโดยสาร หรือของ
(4) รักษาสังหาริมทรัพย์
(5) ซื้อขายสังหาริมทรัพย์
(6) ค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย
(7) ค่าแรงงานกสิกรรม หรืออุตสาหกรรม
2.    บุริมสิทธิพิเศษเหนืออสังหาริมทรัพย์ มาตรา 273 บัญญัติไว้ 3 ประการ คือ
(1) รักษาอสังหาริมทรัพย์
(2) จ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์
(3) ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

1.1.1   บุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์
บุริมสิทธิสามัญคืออะไร มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
บุริมสิทธิสามัญคือ สิทธิที่เจ้าหนี้ผู้ทรงบุริมสิทธิสามารถบังคับเอาของทรัพย์ทั้งหมดของลูกหนี้ซึ่งตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งบุริมสิทธิสามัญ ซึ่งได้แก่
(1) ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน
(2) ค่าปลงศพ
(3) ค่าภาษีอากร
(4) ค่าจ้างเสมียน คนใช้ และคนงาน
(5) ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน

1.1.2   บุริมสิทธิพิเศษเหนืออสังหาริมทรัพย์
บุริมสิทธิพิเศษมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ยกตัวอย่างในแต่ละประเภท
บุริมสิทธิมี 2 ประเภทคือ
(1) บุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์ (มาตรา 259)
(2) บุริมสิทธิพิเศษเหนืออสังหาริมทรัพย์ (มาตรา 273)
บุริมสิทธิพิเศษ (ก) บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์
มาตรา 259 ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่ง อย่างใดดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่างของลูกหนี้ คือ
(1)  เช่าอสังหาริมทรัพย์
(2)  พักอาศัยในโรงแรม
(3)  รับขนคนโดยสาร หรือของ
(4)  รักษาสังหาริมทรัพย์
(5)  ซื้อขายสังหาริมทรัพย์
(6)  ค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย
(7)  ค่าแรงงานกสิกรรม หรืออุตสาหกรรม
บุริมสิทธิพิเศษ (ข) บุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์
มาตรา 273 ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่ง อย่างใดดังจะกล่าวต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือ อสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่างของลูกหนี้ คือ
(1)  รักษาอสังหาริมทรัพย์
(2)  จ้างทำของเป็นการทำงานขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์
(3)  ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

1.2  ลำดับและผลแห่งบุริมสิทธิ
1.    ลำดับบุริมสิทธิสามัญด้วยกันตามมาตรา 253 ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ลำดับ ผู้อยู่ในลำดับก่อนมีสิทธิดีกว่า คือจะได้รับชำระหนี้ก่อนผู้ที่อยู่ในลำดับถัดไป
2.    ถ้าบุริมสิทธิสามัญแย้งกับบุริมสิทธิพิเศษแล้ว บุริมสิทธิพิเศษมาในลำดับก่อนบุริมสิทธิสามัญ (มาตรา 277 วรรค 2) เว้นแต่ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ร่วมกันอันเป็นบุริมสิทธิสามัญ (มาตรา 253)
3.    กรณีบุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์เดียวกันแย้งกันขึ้นเอง มาตรา 278 จัดลำดับดังนี้ คือ
1.)  บุริมสิทธิในมูลเช่าอสังหาริมทรัพย์ พักอาศัยในโรงแรมและรับขน
2.)  บุริมสิทธิในมูลรักษาสังหาริมทรัพย์ แต่ถ้ามีบุคคลหลายคนเป็นผู้รักษา ท่านว่าผู้รักษาภายหลังอยู่ในลำดับก่อนผู้ที่ได้รักษามาก่อน
3.)  บุริมสิทธิในมูลซื้อขาย สังหาริมทรัพย์ ค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์หรือปุ๋ย และค่าแรงงานกสิกรรมและอุตสาหกรรม
4.    ผลแห่งบุริมสิทธิในส่วนบุริมสิทธิสามัญนั้น บุคคลผู้มีบุริมสิทธิสามัญต้องรับชำระหนี้เอาจากสังหา ริมทรัพย์ของลูกหนี้ก่อน ต่อเมื่อยังไม่พอจึงให้เอาชำระจากอสังหาริมทรัพย์ได้ ผลของบุริมสิทธิอันมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์นั้น ท่านห้ามมิให้ใช้เมื่อบุคคลภายนอกได้ทรัพย์นั้นจากลูกหนี้และได้ส่งมอบทรัพย์ให้กันไปเสร็จแล้วหากกรณีมีบุริมสิทธิแย้งกับสิทธิจำนำสังหาริมทรัพย์ ท่านว่าผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกับผู้ทรงบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งดังที่เรียงไว้ในมาตรา 278 ส่วนบุริมสิทธิพิเศษเหนืออสังหาริมทรัพย์นั้นเจ้าหนี้ต้องไปบอกลงทะเบียนไว้ จึงจะมีผลบังคับเป็นบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์นั้นได้

1.2.1   ลำดับแห่งบุริมสิทธิ
ให้อธิบายลำดับแห่งบุริมสิทธิ
ลำดับแห่งบุริมสิทธิ
(1) บุริมสิทธิหลายรายแย้งกันให้ดูลำดับที่จะให้มีผลก่อนหลังกัน ดั่งที่เรียงลำดับไว้ในมาตรา 253
(2) บุริมสิทธิสามัญแย้งกับบุริมสิทธิพิเศษ ให้ถือว่าบุริมสิทธิพิเศษอยู่ในลำดับก่อน แต่บุริมสิทธิในมูลค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันตามมาตรา 253 (1)  ย่อมอยู่ในลำดับก่อน ในฐานะที่จะใช้สิทธินั้นต่อเจ้าหนี้ผู้ได้รับประโยชน์จากการนั้นหมดทุกคนด้วยกัน ตามมาตรา 277 วรรค 2
(3) บุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์อันเดียวกัน กฎหมายจัดอันดับไว้ในมาตรา 278
(4) บุริมสิทธิพิเศษแย้งกันหลายรายเหนืออสังหาริมทรัพย์อันหนึ่งอันเดียวกัน กฎหมายถือว่าให้ต่างคนต่างได้รับชำระหนี้เฉลี่ยตามส่วนมากน้อยแห่งจำนวนที่ตนเป็นเจ้าหนี้ตามมาตรา 280
มาตรา 277 เมื่อมีบุริมสิทธิสามัญหลายรายแย้งกัน ท่านให้ถือว่า บุริมสิทธิทั้งหลายนั้นมีลำดับที่จะให้ผลก่อนหลัง ดังที่ได้เรียงลำดับ ไว้ใน มาตรา 253
เมื่อมีบุริมสิทธิสามัญแย้งกับบุริมสิทธิพิเศษ ท่านว่าบุริมสิทธิพิเศษ ย่อมอยู่ในลำดับก่อน แต่บุริมสิทธิในมูลค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ร่วมกัน นั้นย่อมอยู่ในลำดับก่อน ในฐานที่จะใช้สิทธินั้นต่อเจ้าหนี้ผู้ได้รับ ประโยชน์จากการนั้นหมดทุกคนด้วยกัน
มาตรา 278 เมื่อมีบุริมสิทธิแย้งกันหลายรายเหนือสังหาริมทรัพย์ อันหนึ่งอันเดียวกัน ท่านให้ถือลำดับก่อนหลังดังที่เรียงไว้ต่อไปนี้ คือ
(1) บุริมสิทธิในมูลเช่าอสังหาริมทรัพย์ พักอาศัยในโรงแรมและ รับขน
(2) บุริมสิทธิในมูลรักษาสังหาริมทรัพย์ แต่ถ้ามีบุคคลหลายคน เป็นผู้รักษา ท่านว่าผู้ที่รักษาภายหลังอยู่ในลำดับก่อนผู้ที่ได้รักษามาก่อน
(3) บุริมสิทธิในมูลซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย และค่าแรงงานกสิกรรมและอุตสาหกรรม
ถ้าบุคคลผู้ใดมีบุริมะสิทธิอยู่ในลำดับเป็นที่หนึ่งและรู้อยู่ในขณะ ที่ตนได้ประโยชน์แห่งหนี้มานั้นว่ายังมีบุคคลอื่นซึ่งมีบุริมสิทธิอยู่ใน ลำดับที่สองหรือที่สามไซร้ ท่านห้ามมิให้บุคคลผู้นั้นใช้สิทธิในการที่ตน อยู่ในลำดับก่อนนั้นต่อบุคคลอื่นเช่นว่ามา และท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิ นี้ต่อผู้ที่ได้รักษาทรัพย์ไว้ เพื่อประโยชน์แก่บุคคลผู้มีบุริมสิทธิในลำดับ ที่หนึ่งนั้นเองด้วย
ในส่วนดอกผล ท่านให้บุคคลผู้ได้ทำการงานกสิกรรมอยู่ในลำดับ ที่หนึ่ง ผู้ส่งเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย อยู่ในลำดับที่สองและผู้ให้ เช่าที่ดินอยู่ในลำดับที่สาม
มาตรา 280 เมื่อบุคคลหลายคนมีบุริมสิทธิในลำดับเสมอกันเหนือ ทรัพย์อันหนึ่งอันเดียวกัน ท่านให้ต่างคนต่างได้รับชำระหนี้เฉลี่ยตาม ส่วนมากน้อยแห่งจำนวนที่ตนเป็นเจ้าหนี้

1.2.2   ผลแห่งบุริมสิทธิ
เจ้าหนี้ผู้ทรงบุริมสิทธิสามัญ บุริมสิทธิพิเศษ เมื่อจะบังคับเอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้มีผลหรือหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง อธิบาย
บุริมสิทธิสามัญ
(1) ต้องบังคับเอาจากสังหาริมทรัพย์ก่อน ต่อเมื่อยังไม่พอจึงให้เอาชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์ได้ และอสังหาริมทรัพย์นั้นก็ต้องบังคับเอาจากอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้ตกอยู่ในฐานเป็นหลักประกันพิเศษ ตามมาตรา 283
(2) แม้จะไม่ได้ไปลงทะเบียนเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ย่อมมีสิทธิดีกว่าเจ้าหนี้ใดๆ ที่ไม่มีหลักประกันพิเศษ เว้นแต่บุคคลภายนอกผู้ได้ไปลงทะเบียนสิทธิไว้ ตามมาตรา 284

บุริมสิทธิพิเศษเหนืออสังหาริมทรัพย์
(1) ตามมาตรา 273 (1) 274 เจ้าหนี้ต้องจดทะเบียนจำนวนหนี้ค่ารักษาอสังหาริมทรัพย์จึงจะมีผลบังคับเป็นบุริมสิทธิพิเศษเหนืออสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 285
(2) สิทธิจำนองมาหลังบุริมสิทธิตามมาตรา 285-286
(3) ให้นำบทบัญญัติในลักษณะจำนองมาใช้เกี่ยวกับผลแห่งบุริมสิทธิด้วยตามแต่กรณี (มาตรา 289)
(4) ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์มีบุริมสิทธิในราคาทรัพย์สินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระตาม มาตรา 273 (3) มาตรา 276 ผู้ขายต้องจดทะเบียนหนี้ที่ค้างชำระในเวลาจดทะเบียนการโอนขายอสังหาริมทรัพย์ จึงจะมีบุริมสิทธินี้
(5) บุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 273 (2) 275 ต้องทำรายการประมาณการราคาชั่วคราวไปบอกลงทะเบียนไว้ก่อนเริมลงมือทำการบุริมสิทธิจึงจะมีผลบังคับ
ผลแห่งบุริมสิทธิ
มาตรา 281 บุริมสิทธิอันมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์นั้น ท่านห้ามมิ ให้ใช้ เมื่อบุคคลภายนอกได้ทรัพย์นั้นจากลูกหนี้และได้ส่งมอบทรัพย์ ให้กันไปเสร็จแล้ว
มาตรา 282 เมื่อมีบุริมสิทธิแย้งกับสิทธิจำนำสังหาริมทรัพย์ ท่านว่าผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกันกับผู้ทรงบุริมสิทธิใน ลำดับที่หนึ่งดังที่เรียงไว้ใน มาตรา 278 นั้น
มาตรา 283 บุคคลผู้มีบุริมสิทธิสามัญต้องรับชำระหนี้เอาจาก สังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ก่อน ต่อเมื่อยังไม่พอจึงให้เอาชำระหนี้จาก อสังหาริมทรัพย์ได้
ในส่วนอสังหาริมทรัพย์นั้น ก็ต้องรับชำระหนี้เอาจากอสังหาริมทรัพย์อันมิได้ตกอยู่ในฐานเป็นหลักประกันพิเศษเสียก่อน
ถ้าบุคคลใดมีบุริมสิทธิสามัญและละเลยด้วยความประมาทเลินเล่อ ไม่สอดเข้าแย้งขัดในการแบ่งเฉลี่ยทรัพย์ ตามความที่กล่าวมาใน วรรคทั้งสองข้างบนนี้ไซร้ อันบุคคลนั้นจะใช้บุริมสิทธิของตนต่อ บุคคลภายนอกผู้ได้จดทะเบียนสิทธิไว้แล้วเพื่อจะเอาใช้จนถึงขนาด เช่นที่ตนจะหากได้รับเพราะได้สอดเข้าแย้งขัดนั้น ท่านว่าหาอาจ จะใช้ได้ไม่
อนึ่งบทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคทั้งสามข้างต้นนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับหากว่าเงินที่ขายอสังหาริมทรัพย์ได้นั้น จะพึงต้องเอามาแบ่งเฉลี่ยก่อนเงินที่ขายทรัพย์สินอย่างอื่นก็ดีหรือหากว่าเงินที่ขาย อสังหาริมทรัพย์อันตกอยู่ในฐานเป็นหลักประกันพิเศษนั้นจะพึงต้องเอามาแบ่งเฉลี่ยก่อนเงินที่ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นก็ดุจกัน
มาตรา 284 บุริมสิทธิสามัญนั้น ถึงแม้จะมิได้ไปลงทะเบียนเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ก็ดี ย่อมจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ใด ๆ ที่ ไม่มีหลักประกันพิเศษนั้นได้ แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้ไปถึงการ ต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้ไปลงทะเบียนสิทธิไว้
มาตรา 285 บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าหากว่า เมื่อทำการเพื่อบำรุงรักษานั้นสำเร็จแล้ว ไปบอกลงทะเบียนไว้โดย พลันไซร้ บุริมะสิทธิก็คงให้ผลต่อไป
มาตรา 286 บุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบน อสังหาริมทรัพย์นั้น หากทำรายการประมาณราคาชั่วคราวไปบอก ลงทะเบียนไว้ก่อนเริ่มลงมือการทำไซร้ บุริมสิทธิก็คงให้ผลต่อไป แต่ถ้าราคาที่ทำจริงนั้นล้ำราคาที่ได้ประมาณไว้ชั่วคราว ท่านว่า บุริมสิทธิในส่วนจำนวนที่ล้ำอยู่นั้นหามีไม่
ส่วนการที่จะวินิจฉัยว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นมีราคาเพิ่มขึ้น เพราะ การอันได้ทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์มากน้อยเพียงใดนั้น ท่านให้ศาล ตั้งแต่งผู้เชี่ยวชาญขึ้นเป็นผู้กะประมาณ ในเวลาที่มีแย้งขัดในการ แบ่งเฉลี่ย
มาตรา 287 บุริมสิทธิใดได้ไปจดลงทะเบียนแล้วตามบทบัญญัติ แห่ง มาตรา ทั้งสองข้างบนนี้ บุริมสิทธินั้นท่านว่าอาจจะใช้ได้ก่อนสิทธิจำนอง
มาตรา 288 บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นหากว่า เมื่อไปลงทะเบียนสัญญาซื้อขายนั้น บอกลงทะเบียนไว้ด้วยว่าราคา หรือดอกเบี้ยในราคานั้นยังมิได้ชำระไซร้ บุริมสิทธินั้นก็คงให้ผลต่อไป
มาตรา 289 ว่าถึงผลแห่งบุริมสิทธินอกจากที่ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 281 ถึง 288 นี้แล้ว ท่านให้นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งลักษณะจำนอง มาใช้บังคับด้วยตามแต่กรณี
บุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์
(1)  หากสังหาริมทรัพย์นั้น ลูกหนี้ได้ส่งมอบให้บุคคลภายนอกแล้ว บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์ ย่อมระงับไปเหนือสังหาริมทรัพย์นั้นตามมาตรา 281
(2)  เมื่อแย้งกับสิทธิจำนำสังหาริมทรัพย์ ผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกันกับผู้ทรงบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่ง ดังที่เรียงไว้ในมาตรา 278


แบบประเมินผลตนเองหน่วยที่ 6

1.    บุริมสิทธิพิเศษได้แก่ บุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์และเหนืออสังหาริมทรัพย์
2.    บุริมสิทธิในมูลซื้อขายสังหาริมทรัพย์หมายถึง กรณีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ต้องซื้อขายโอนไปเป็นของผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อยังต้องชำระราคาซื้อและดอกเบี้ย
3.    บุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์ได้แก่ ค่าเช่าสังหาริมทรัพย์ ค่าพักอาศัยในโรงแรม
4.    บุริมสิทธิพิเศษเหนืออสังหาริมทรัพย์ได้แก่ ค่าจ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์      ค่ารักษาอสังหาริมทรัพย์
5.    บุริมสิทธิพิเศษเหนืออสังหาริมทรัพย์ได้แก่ ค่ารักษาอสังหาริมทรัพย์ จ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์
6.    เมื่อมีบุริมสิทธิสามัญหลายรายแย้งกัน เรียงลำดับได้ดังนี้คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน ค่าปลงศพ ค่าภาษีอากร ค่าจ้างเสมียน ค่าคนใช้คนงาน และค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน
7.    ถ้าบุริมสิทธิสามัญแย้งกับบุริมสิทธิพิเศษ กฎหมายบัญญัติว่า ให้บุริมสิทธิพิเศษมาเป็นลำดับก่อน เว้นแต่ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ร่วมกันอันเป็นบุริมสิทธิสามัญได้รับยกเว้นให้มาก่อนบุริมสิทธิพิเศษ
8.    เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ได้โดย ต้องเข้าขอเฉลี่ยทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนที่จะถูกแบ่งชำระเจ้าหนี้อื่น
9.    บุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์ ระงับสิ้นไปเมื่อ สังหาริมทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งบุริมสิทธิถูกโอนและส่งมอบให้แก่บุคคลภายนอก
10. ผู้รับจำนำสังหาริมทรัพย์กับผู้มีบุริมสิทธิ พิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้รับจำนำมีสิทธิดีกว่า
11. เจ้าหนี้จำนองนั้นมีสิทธิ ดีกว่าเจ้าหนี้สามัญ
12. ผู้มีสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์ กับผู้รับจำนำสังหาริมทรัพย์ ผู้รับจำนำมีสิทธิดีกว่า



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น