1. สิทธิยึดหน่วงและบุริมสิทธิ เป็นทรัพย์สิทธิประเภทที่เรียกว่าเป็นอุปกรณ์สิทธิ
2. ผู้ใดเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น
และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครองนั้นไซร้
ผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ก็ได้
แต่มิให้ใช้บังคับเมื่อหนี้ยังไม่ถึงกำหนด และมิให้ใช้บังคับ
ถ้าการที่เข้าครอบครองนั้นเริ่มมาแต่การอันใดอันหนึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
3. ผู้ทรงบุริมสิทธิทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้
ในการที่จะได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ
โดยนัยดังบัญญัติไว้ใน ปพพ. หรือกฎหมายอื่น
1.1 สิทธิยึดหน่วง
1. หลักเกณฑ์ของสิทธิยึดหน่วงต้องเป็นการที่เจ้าหนี้ครอบครองทรัพย์สินของลูกหนี้
การครอบครองนั้นมิใช่เกิดจากการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
และหนี้อันเกิดด้วยทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ครอบครองอยู่
2. สิทธิยึดหน่วงเป็นสิทธิที่แบ่งแยกไม่ได้
เจ้าหนี้จึงยึดทรัพย์สินทั้งชิ้นไว้ได้ แม้จะได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้วตามนัยมาตรา
244 แต่ในส่วนดอกผลของทรัพย์ที่ยึดหน่วงนั้น
ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะเก็บดอกผลแห่งทรัพย์สินที่ยึดหน่วงไว้
และจัดสรรเอาไว้เพื่อการชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้คนอื่นก็ได้
และดอกผลเช่นว่านั้นจะต้องจัดสรรเอาชำระดอกเบี้ยแห่งหนี้นั้นก่อน
ถ้ายังมีเหลือจึงให้จัดสรรให้ต้นเงิน
3. กรณีที่สิทธิยึดหน่วงระงับไปมีดังนี้ คือ (1.) หนี้เดิมระงับ (2.) ลูกหนี้หาประกันให้แทนการยึดหน่วงทรัพย์สินไว้โดยจำนวนที่สมควรตาม
มาตรา 249 (3.)
เจ้าหนี้มิได้ครอบครองทรัพย์ (มาตรา 250) และ (4.) เจ้าหนี้ทำผิดหน้าที่ของตนในการดูแลรักษาทรัพย์ที่ยึดหน่วงไว้
(มาตรา 246)
สิทธิยึดหน่วง
มาตรา 241 ผู้ใดเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่น และมีหนี้อันเป็น คุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้น จะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้ชำระหนี้ก็ได้ แต่ความที่กล่าว มานี้ท่านมิให้ใช้บังคับ เมื่อหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนด
อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ
ถ้าการที่เข้าครอบครองนั้นเริ่มมาตั้งแต่ทำการอันใดอันหนึ่งซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 242 สิทธิยึดหน่วงอันใด ถ้าไม่สมกับลักษณะที่เจ้าหนี้รับ ภาระในมูลหนี้ก็ดี ไม่สมกับคำสั่งอันลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อน หรือให้ใน เวลาที่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นก็ดี หรือเป็นการขัดกับความสงบเรียบร้อย
ของประชาชนก็ดี สิทธิยึดหน่วงเช่นนั้นท่านให้ถือว่าหามีไม่เลย
มาตรา 243 ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นคนสินล้นพ้นตัวไม่สามารถใช้หนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิจะยึดหน่วงทรัพย์สินไว้ได้แม้ทั้งที่ยังไม่ถึงกำหนดเรียก ร้องถ้าการที่ลูกหนี้ไม่สามารถใช้หนี้นั้นได้เกิดเป็นขึ้นหรือรู้ถึงเจ้าหนี้ ต่อภายหลังเวลาที่ได้ส่งมอบทรัพย์สินไซร้ ถึงแม้ว่าจะไม่สมกับลักษณะ ที่เจ้าหนี้รับภาระในมูลหนี้ไว้เดิมหรือไม่สมกับคำสั่งอันลูกหนี้ได้ให้ ไว้ก็ดีเจ้าหนี้ก็อาจใช้สิทธิยึดหน่วงได้
มาตรา 244 ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะใช้สิทธิของตนแก่ทรัพย์สิน ทั้งหมดที่ยึดหน่วงไว้นั้นจนกว่าจะชำระหนี้สิ้นเชิงก็ได้
มาตรา 245 ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะเก็บดอกผลแห่งทรัพย์สินที่ ยึดหน่วงไว้และจัดสรรเอาไว้เพื่อการชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้คน อื่นก็ได้
ดอกผลเช่นว่านี้จะต้องจัดสรรเอาชำระดอกเบี้ยแห่งหนี้นั้นก่อน ถ้ายังมีเหลือจึงให้จัดสรรใช้ต้นเงิน
มาตรา 246 ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจำต้องจัดการดูแลรักษาทรัพย์สิน
ที่ยึดหน่วงไว้นั้นตามสมควร เช่นจะพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะ เช่นนั้น
อนึ่ง ทรัพย์สินซึ่งยึดหน่วงไว้นั้น ถ้ามิได้รับความยินยอมของลูกหนี้ ท่านว่าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหาอาจจะใช้สอยหรือให้เช่า หรือเอาไปทำ เป็นหลักประกันได้ไม่
แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับไปถึงการใช้สอยเช่นที่จำเป็นเพื่อรักษาทรัพย์สินนั้นเอง
ถ้าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติใดที่กล่าวมานี้ ท่านว่าลูกหนี้จะเรียกร้องให้ระงับสิทธินั้นเสียก็ได้
มาตรา 247 ถ้าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงต้องเสียค่าใช้จ่ายไปตามที่ จำเป็นเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอันตนยึดหน่วงไว้นั้นเพียงใด จะเรียกให้ เจ้าทรัพย์ชดใช้ให้ก็ได้
มาตรา 248 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 193/27 การใช้สิทธิยึดหน่วงทำให้อายุความแห่งหนี้สะดุดหยุดลงไม่
มาตรา 250 การครองทรัพย์สินสูญสิ้นไป
สิทธิยึดหน่วงก็เป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ทรัพย์สิน อันยึดหน่วงไว้นั้นได้ให้เช่าไปหรือจำนำไว้ด้วยความยินยอมของลูกหนี้
1.1.1 หลักเกณฑ์ของสิทธิยึดหน่วง
ก. ต้องการได้สร้อยคอของ ข. เพื่อใส่ไปในงานแต่งงาน จึงบอก ข. ว่าบิดาของ ข.
ให้ฝากสร้อยคอนั้นแก่ ก. ไว้ และบิดาของ ข. จะเอามาคืนจาก ก. ทีหลัง
ซึ่งเป็นความเท็จ ข. หลงเชื่อจึงมอบสร้อยคอนั้นแก่ ก. วันรุ่งขึ้น ข.
มีความจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนหนึ่ง จึงขอกู้จาก ก. ก. ตกลงให้กู้เงิน 20,000 บาท
กำหนดเวลาชำระเงินในวันที่ 5 มีนาคม 2525 ครั้งถึงกำหนดเวลาชำระเงิน ก.
ไม่สามารถชำระเงินแก่ ข. ได้ และ ข. รู้ว่าสร้อยคอที่ฝากไว้ยังคงอยู่ที่ ก. ข.
จึงขอสร้อยคอคืนดังนี้ ก. จะมีสิทธิยึดหน่วงสร้อยนั้นได้หรือไม่
เพียงใดเพราะเหตุใด
ก. จะใช้สิทธิยึดหน่วงสร้อยนั้นไม่ได้ ต้องส่งมอบคืนแก่ ข.
เพราะการเข้าครอบครองถือเอาสร้อยคอของ ก. เกิดจาก ก. ใช้กลฉ้อฉล หลอก ข.
ให้ส่งมอบให้ เป็นการครอบครองทรัพย์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่เริ่มแรก ตาม มาตรา
241 วรรคท้าย
มาตรา 241 ผู้ใดเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่น และมีหนี้อันเป็น คุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้น จะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้ชำระหนี้ก็ได้ แต่ความที่กล่าว มานี้ท่านมิให้ใช้บังคับ เมื่อหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนด
อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าการที่เข้าครอบครองนั้นเริ่มมาตั้งแต่ทำการอันใดอันหนึ่งซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
1.1.2 ผลของสิทธิยึดหน่วง
เมื่อเจ้าหนี้ใช้สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว
เจ้าหนี้ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงมีสิทธิและหน้าที่อย่างไรบ้างเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยึดหน่วง
เมื่อเจ้าหนี้ใช้สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว
เจ้าหนี้ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์ที่ยึดหน่วงดังนี้
สิทธิ
1.) นำเอาทรัพย์ที่ยึดถือไว้มาชำระหนี้แก่ตนจนสิ้นเชิง
ตามมาตรา 244
2.) เก็บดอกผลแห่งทรัพย์สินที่ยึดหน่วง
และจัดสรรเอาไว้เพื่อการชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้คนอื่น ตามมาตรา 245
3.) เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิบังคับจากทรัพย์สินที่ยึดถือไว้ได้
แม้สิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อลูกหนี้จะขาดอายุความแล้วก็ตาม
เว้นแต่จะเรียกดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 5 ปี ขึ้นไป ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 189
หน้าที่
1.) ดูแลรักษาทรัพย์ที่ยึดหน่วง
2.) ห้ามใช้สอย ให้เช่า หรือนำไปเป็นหลักประกัน
ทั้งข้อ 1 และ 2 ตามมาตรา 246
มาตรา 189 นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขนั้นเป็น
การพ้นวิสัย นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ
มาตรา 244 ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะใช้สิทธิของตนแก่ทรัพย์สิน ทั้งหมดที่ยึดหน่วงไว้นั้นจนกว่าจะชำระหนี้สิ้นเชิงก็ได้
มาตรา 245 ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะเก็บดอกผลแห่งทรัพย์สินที่ ยึดหน่วงไว้และจัดสรรเอาไว้เพื่อการชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้คน อื่นก็ได้
มาตรา 246 ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจำต้องจัดการดูแลรักษาทรัพย์สิน
ที่ยึดหน่วงไว้นั้นตามสมควร เช่นจะพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะ เช่นนั้น
อนึ่ง ทรัพย์สินซึ่งยึดหน่วงไว้นั้น ถ้ามิได้รับความยินยอมของลูกหนี้ ท่านว่าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหาอาจจะใช้สอยหรือให้เช่า หรือเอาไปทำ เป็นหลักประกันได้ไม่
แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับไปถึงการใช้สอยเช่นที่จำเป็นเพื่อรักษาทรัพย์สินนั้นเอง
ถ้าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติใดที่กล่าวมานี้ ท่านว่าลูกหนี้จะเรียกร้องให้ระงับสิทธินั้นเสียก็ได้
1.1.3 ความระงับแห่งสิทธิยึดหน่วง
ก. นำรถยนต์มาซ่อมที่อู่ของ ข. และไม่มีเงินชำระค่าซ่อม ข. จึงยึดรถยนต์ของ ก.
ไว้ก่อนจนกว่า ก. จะมาชำระค่าซ่อมครบถ้วน แต่ ข. เห็นว่าอู่ซ่อมรถของตนไม่มีที่จอดเพียงพอ
จึงบอกแก่ ก. ว่าจะนำรถของ ก. ไปฝากไว้กับ ค. ซึ่งมีที่สำหรับฝากรถ ก.
ตกลงด้วยตามนั้น ต่อมา ก.
ไปเอารถยนต์ของตนจาก ค. โดยไม่ได้บอกแก่ ข. ข. รู้เข้าจึงไปยึดรถยนต์ของ ก.
คันดังกล่าวเพื่อมาไว้ในความครอบครองของตน ก. ปฏิเสธโดยอ้างว่า
การครอบครองรถดังกล่าวของ ข. สูญสิ้นไปแล้ว สิทธิยึดหน่วงเป็นอันระงับสิ้นไป ข.
อ้างว่าเมื่อ ก. อนุญาตยินยอมให้นำรถไปฝากไว้กับ ค. แล้ว ถือว่าการครอบครองของ ข.
ยังไม่สิ้นสูญ สิทธิยึดหน่วงยังไม่ระงับ หาก ก. และ ข. มาปรึกษาท่าน
ท่านจะให้คำแนะนำอย่างไร
เมื่อ ข. นำรถยนต์ไปฝาก ค. ไว้ การครอบครองรถยนต์ของ ข.
สูญสิ้นไปแล้ว แม้จะเป็นความยินยอมของ ก. ลูกหนี้ที่ให้ ข. นำรถยนต์ไปฝาก ค. ก็ตาม
กรณีหาต้องด้วยบทบัญญัติของ ปพพ. มาตรา 250 ไม่ สิทธิยึดหน่วงจึงระงับไป ข.
จะยึดรถยนต์ดังกล่าวจาก ก. ไม่ได้ ก. มีสิทธิปฏิเสธการคืนการครอบครองรถยนต์ให้ ข.
1.2 บุริมสิทธิ
1. ผู้ทรงบุริมสิทธิย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ
โดยนับดังบัญญัติไว้ใน ปพพ. หรือบทกฎหมายอื่น
2. บุริมสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นบุริมสิทธิสามัญ
หรือบุริมสิทธิพิเศษ
เป็นทรัพย์สิทธิและเป็นทรัพย์สิทธิประเภทที่เรียกว่าอุปกรณ์สิทธิ
บุริมสิทธินั้นแบ่งแยกไม่ได้
3. บุริมสิทธิสามัญนั้น ตามมาตรา 253 มีดังนี้
(1) ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน
(2) ค่าปลงศพ
(3) ค่าภาษีอากร
(4) ค่าจ้างเสมียน คนใช้ และคนงาน
(5) ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน
บุริมสิทธิ
มาตรา 251 ผู้ทรงบุริมสิทธิย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สิน ของลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตน จากทรัพย์สิน นั้นก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ โดยนัยดังบทบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ หรือบทกฎหมายอื่น
มาตรา 252 บทบัญญัติแห่ง มาตรา 244 นั้น ท่านให้ใช้บังคับ ตลอดถึงบุริมสิทธิด้วยตามแต่กรณี
บุริมสิทธิสามัญ
มาตรา 253 ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่ง อย่างใดดังจะกล่าวต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สิน ทั้งหมดของลูกหนี้ คือ
1) ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน
2) ค่าปลงศพ
3) ค่าภาษีอากร และเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ ทำให้แก่ ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้าง
4) ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน
มาตรา 254 บุริมสิทธิในมูลค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันนั้น ใช้สำหรับเอาค่าใช้จ่ายอันได้เสียไป เพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้หมด ทุกคนร่วมกันเกี่ยวด้วยการรักษา การชำระบัญชี หรือการเฉลี่ย ทรัพย์สินของลูกหนี้
ถ้าค่าใช้จ่ายนั้นมิได้เสียไป เพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้หมดทุกคน ไซร้บุริมะสิทธิย่อมจะใช้ได้แต่เฉพาะต่อเจ้าหนี้ผู้ที่ได้รับประโยชน์ จากการนั้น
มาตรา 256 บุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรนั้น ใช้สำหรับเอาบรรดา ค่าภาษีอากรในที่ดิน ทรัพย์สิน หรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยัง ค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่ง
มาตรา 257 บุริมสิทธิในเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ ได้ทำให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้างนั้น ให้ใช้สำหรับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ และเงินอื่นใดที่ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ทำให้ นับถอยหลังขึ้นไปสี่เดือน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อลูกจ้างคนหนึ่ง
มาตรา 258 บุริมสิทธิในมูลค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็น ประจำวันนั้น ใช้สำหรับเอาค่าเครื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งยังค้างชำระ
อยู่นับถอยหลังขึ้นไปหกเดือน เช่นค่าอาหาร เครื่องดื่ม โคมไฟ ฟืน ถ่าน อันจำเป็นเพื่อการทรงชีพของลูกหนี้และบุคคลในสกุลซึ่งอยู่ กับลูกหนี้ และซึ่งลูกหนี้จำต้องอุปการะกับทั้งคนใช้ของลูกหนี้ด้วย
1.2.1 ความหมายและลักษณะสำคัญของบุริมสิทธิ
ให้อธิบายความหมายคำว่าบุริมสิทธิ
บุริมสิทธิเป็นสิทธิประเภทหนึ่ง
ซึ่งเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ตกอยู่ภายใต้บังคับของบุริมสิทธิได้ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ
ตามมาตรา 251 เช่น ก. ติดค้างชำระค่าภาษีอากรกับกรมสรรพกร และเป็นหนี้ ข.
ซึ่งได้กู้ยืมมา ดังนี้ เมื่อจะบังคับเอาจากทรัพย์สินของ ก.
กรมสรรพกรมีสิทธิยึดทรัพย์มาบังคับเพื่อชำระหนี้แก่กรมฯ ก่อน ข.
ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อีกคน เพราะกรมฯ เป็นผู้ทรงบุริมสิทธิ (ค่าภาษีอากร) ดูมาตรา 253
ประกอบ
บุริมสิทธิมีลักษณะสำคัญอย่างไร
(1) เป็นทรัพย์สิทธิอาจใช้ยันบุคคลอื่น
นอกจากตัวเจ้าหนี้ ลูกหนี้เฉพาะรายซึ่งเรียกว่าบุคคลสิทธิ
เจ้าหนี้ผู้ทรงบุริมสิทธิอาจอ้างบุริมสิทธิยันเจ้าหนี้อื่นที่ไม่มีบุริมสิทธิเท่าเทียมกันได้ตามที่กฎหมายกำหนดลำดับบุริมสิทธิไว้
(มาตรา 253 มาตรา 277-280) และผู้ทรงบุริมสิทธิยังอาจติดตามเอาทรัพย์สินที่ตกอยู่ใต้บุริมสิทธิคืนจากบุคคลภายนอกได้อีกด้วย
(มาตรา 268 วรรค 2)
(2) บุริมสิทธิแบ่งแยกไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้ทรงบุริมสิทธิบังคับแก่ทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งบุริมสิทธิได้เต็มทั้งชิ้นโดยไม่คำนึงว่าได้มีการชำระหนี้บางส่วนหรือไม่
(3) เป็นทรัพย์สิทธิที่เรียกว่า เป็นอุปกรณ์สิทธิในเรื่องหนี้
คือมีความสมบูรณ์และคงอยู่โดยอาศัยหนี้เดิมเป็นมูลให้เกิดทรัพย์สิทธินั้นเป็นพื้นฐาน
กล่าวคือ จะมีบุริมสิทธิอยู่โดยไม่มีหนี้เดิมไม่ได้นั่นเอง
ลำดับแห่งบุริมสิทธิ
มาตรา 277 เมื่อมีบุริมสิทธิสามัญหลายรายแย้งกัน ท่านให้ถือว่า บุริมสิทธิทั้งหลายนั้นมีลำดับที่จะให้ผลก่อนหลัง ดังที่ได้เรียงลำดับ ไว้ใน มาตรา 253
เมื่อมีบุริมสิทธิสามัญแย้งกับบุริมสิทธิพิเศษ ท่านว่าบุริมสิทธิพิเศษ ย่อมอยู่ในลำดับก่อน แต่บุริมสิทธิในมูลค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ร่วมกัน นั้นย่อมอยู่ในลำดับก่อน ในฐานที่จะใช้สิทธินั้นต่อเจ้าหนี้ผู้ได้รับ ประโยชน์จากการนั้นหมดทุกคนด้วยกัน
มาตรา 278 เมื่อมีบุริมสิทธิแย้งกันหลายรายเหนือสังหาริมทรัพย์ อันหนึ่งอันเดียวกัน ท่านให้ถือลำดับก่อนหลังดังที่เรียงไว้ต่อไปนี้ คือ
(1) บุริมสิทธิในมูลเช่าอสังหาริมทรัพย์ พักอาศัยในโรงแรมและ รับขน
(2) บุริมสิทธิในมูลรักษาสังหาริมทรัพย์ แต่ถ้ามีบุคคลหลายคน เป็นผู้รักษา ท่านว่าผู้ที่รักษาภายหลังอยู่ในลำดับก่อนผู้ที่ได้รักษามาก่อน
(3) บุริมสิทธิในมูลซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย และค่าแรงงานกสิกรรมและอุตสาหกรรม
ถ้าบุคคลผู้ใดมีบุริมะสิทธิอยู่ในลำดับเป็นที่หนึ่งและรู้อยู่ในขณะ ที่ตนได้ประโยชน์แห่งหนี้มานั้นว่ายังมีบุคคลอื่นซึ่งมีบุริมสิทธิอยู่ใน ลำดับที่สองหรือที่สามไซร้ ท่านห้ามมิให้บุคคลผู้นั้นใช้สิทธิในการที่ตน อยู่ในลำดับก่อนนั้นต่อบุคคลอื่นเช่นว่ามา และท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิ นี้ต่อผู้ที่ได้รักษาทรัพย์ไว้ เพื่อประโยชน์แก่บุคคลผู้มีบุริมสิทธิในลำดับ ที่หนึ่งนั้นเองด้วย
ในส่วนดอกผล ท่านให้บุคคลผู้ได้ทำการงานกสิกรรมอยู่ในลำดับ
ที่หนึ่ง ผู้ส่งเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย อยู่ในลำดับที่สองและผู้ให้ เช่าที่ดินอยู่ในลำดับที่สาม
มาตรา 279 เมื่อมีบุริมสิทธิพิเศษแย้งกันหลายรายเหนืออสังหาริมทรัพย์อันหนึ่งอันเดียวกัน ท่านให้ถือลำดับก่อนหลังดังที่ ได้เรียงลำดับไว้ใน มาตรา 273
ถ้าได้ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นสืบต่อกันไปอีกไซร้ ลำดับก่อน หลังในระหว่างผู้ขายด้วยกันนั้น ท่านให้เป็นไปตามลำดับที่ได้ซื้อขาย
ก่อนและหลัง
มาตรา 280 เมื่อบุคคลหลายคนมีบุริมสิทธิในลำดับเสมอกันเหนือทรัพย์อันหนึ่งอันเดียวกัน
ท่านให้ต่างคนต่างได้รับชำระหนี้เฉลี่ยตามส่วนมากน้อยแห่งจำนวนที่ตนเป็นเจ้าหนี้
1.2.2 บุริมสิทธิสามัญ
บุริมสิทธิสามัญ
มีกี่ประเภท อะไรบ้าง อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตามบทบัญญัติมาตรา 253 บุริมสิทธิสามัญแบ่งออกเป็น 5 ประเภท
ดังนี้คือ
1) ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน
2) ค่าปลงศพ
3) ค่าภาษีอากร
4) ค่าจ้างเสมียน คนใช้ และคนงาน
5) ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน
มาตรา 253 ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่ง อย่างใดดังจะกล่าวต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สิน ทั้งหมดของลูกหนี้ คือ
(1) ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน
(2) ค่าปลงศพ
(3) ค่าภาษีอากร และเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ ทำให้แก่ ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้าง
(4) ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน
แบบประเมินผลตนเองหน่วยที่ 5
1.
บุริมสิทธิแบ่งออกเป็น 2
ประเภทคือ บุริมสิทธิสามัญและบุริมสิทธิพิเศษ
2.
บุริมสิทธิสามัญได้แก่ (1) ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน (2) ค่าปลงศพ (3) ค่าภาษีอากร (4) ค่าจ้างเสมียน
คนใช้ และคนงาน (5) ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน
3.
บุริมสิทธิ คือ สิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์ที่อยู่ภายใต้บังคับบุริมสิทธินั้น
ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น
4.
บุริมสิทธิเกิดขึ้นได้จาก บทบัญญัติของกฎหมาย
5.
บุริมสิทธิมีลักษณะดังนี้คือ (ก) ทรัพย์สิทธิซึ่งอาจใช้ยันบุคคลอื่นนอกจากตัวเจ้าหนี้
ลูกหนี้เฉพาะราย (ข) สิทธิซึ่งแบ่งแยกไม่ได้ (ค) อุปกรณ์สิทธิ
6.
สิทธิยึดหน่วงคือ สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะครอบครองทรัพย์สินของลูกหนี้โดยที่ทรัพย์สินนั้นเป็นมูลฐานให้เกิดหนี้อันที่ตนเป็นเจ้าหนี้
โดยมีสิทธิครอบครองทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น
7.
ก. นำปากกาและนาฬิกามาให้ ข. ซ่อม
กำหนดว่าจะชำระเงินค่าซ่อมปากกาและนาฬิกาในวันเดียวกัน แต่ ก. มารับปากกาไปก่อน
พอถึงวันนัดชำระเงินค่าซ่อมปากกาและนาฬิกา ก. ชำระเพียงค่าซ่อมนาฬิกา ดังนี้ คือ ข. ไม่มีสิทธิยึดหน่วงนาฬิกาไว้ เพราะ ก.
ได้จ่ายค่าซ่อมนาฬิกาแล้ว
8.
สิทธิยึดหน่วงระงับลงเมื่อ (ก) หนี้เดิมระงับไป
(ข) ลูกหนี้หาประกันให้แทนการยึดหน่วงทรัพย์สินไว้โดยจำนวนที่สมควร (ค) เจ้าหนี้มิได้ครอบครองทรัพย์สินหรือเจ้าหนี้ทำผิดหน้าที่ของตนในการดูแลรักษาทรัพย์ที่ยึดหน่วงไว้
9.
สิทธิยึดหน่วงมีผลให้ (ก) เจ้าหนี้ยึดทรัพย์สินทั้งอันไว้ได้แม้จะได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว
(ข)
ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงสามารถเก็บดอกผลของทรัพย์ที่ยึดหน่วงไว้ชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น
(ค) เกิดสิทธิพิเศษที่ผู้ทรงสิทธิจะยึดหน่วงจนได้รับชำระหนี้จากทรัพย์ที่ยึดหน่วงก่อนเจ้าหนี้อื่น
10. สิทธิยึดหน่วงมีผลให้อายุความ
ไม่สะดุดหยุดลงแต่แม้หนี้จะขาดอายุความผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงก็ยังบังคับชำระหนี้ได้
แต่ห้ามคิดดอกเบี้ยที่ค้างเกินกว่า 5 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น